ประโยชน์ของทุเรียน

ประโยชน์ของทุเรียน...

สรรพคุณทางยาของ...ทุเรียน

เนื้อทุเรียน : เนื้อทุเรียนมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ร้อน โดยความร้อนนี้จะช่วยแก้โรคผิวหนังได้ ทำให้ฝีหนองแห้งเร็ว และมีฤทธิ์ขับพยาธิ

เปลือก : เปลือกแข็งด้านนนอกที่มีหนามแหลม เมื่อนำไปสับแช่ในน้ำปูนใส แล้วสามารถใช้สมานแผลได้ เอามาล้างแผลพุพอง แผลน้ำเหลืองเสียจะช่วยให้แผลหายเร็ว  อีกทั้งคนสมัยก่อนจะเอาเปลือกทุเรียนไปเผาแล้วบดเป็นผง นำมาผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วเอามาพอกที่คางจะทำให้คางทูมยุบลงได้

ใบทุเรียน: เอาใบทุเรียนไปต้มกับน้ำแล้วเอาน้ำนั้นมาอาบ ความร้อนจะช่วย ให้หายไข้และโรคดีซ่านได้

ราก: ตัดเป็นข้อๆ ใส่หม้อต้มให้เดือด นำมาดื่มรักษาอาการท้องร่วงได้ดี และสารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ดี

 

ประโยชน์ต่อร่างกาย

-ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)

เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น

แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย

-เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น 

 ทุเรียนแปรรูป 

-เนื้อทุเรียน : นำมาทำเป็นอาหารได้ทั้งคาวและหวาน นำมาแปรรูปเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เช็ก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน,ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนทอดกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ

-ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียน : สามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน 

-ดอกทุเรียน : นำไปทำห่อหมก แกงส้ม ห่อขนมจีบและยำได้

-เมล็ดของทุเรียน : สามารถรับประทานได้มานำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว  หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า

 

-เปลือกทุเรียน : สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรวมควันปลา และ ใช้ไล่ยุงหรือแมลงได้ด้วย อีกทั้งเปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ กระดาษเปลือกทุเรียนมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา โดยกระดาษเปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง ทั้งในรูปของใช้เบ็ดเตล็ด ของประดับตกแต่ง นอกจากนี้เปลือกทุเรียนยังสามารถใช้เป็นพลังงานและ/หรือ เป็นปุ๋ยได้อีกด้วย 

 คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม

-พลังงาน 174 กิโลแคลอรี่

-คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม

-เส้นใย 3.8 กรัม

-ไขมัน 5.33 กรัม

-โปรตีน 1.47 กรัม

-วิตามินเอ 44 หน่วยสากล

-วิตามินบี1 0.374 มิลลิกรัม 33%

-วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม 17%

-วิตามินบี3 1.74 มิลลิกรัม 7%

-วิตามินบี5 0.23 มิลลิกรัม 5%

-วิตามินบี6 0.316 มิลลิกรัม 24%

-วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม 9%

-วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%

-ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%

-ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%

-ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%

-ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%

-ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%

-ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%

-ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%

-ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3% 

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ 

(ข้อมูลจาก : Agricultural Research Service  United States Department of Agriculture

 National Nutrient Database for Standard Reference Release 27)

งานศึกษาด้านคุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน  

   Toledo et al.,(2008) ศึกษาทุเรียน 5 พันธุ์ คือ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว พวงมณี และกระดุม ที่ระยะการสุกเหมือนกัน พบว่าทั้งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติ

ต้านอนุมูลอิสระพบสูงสุด ตามลำดับดังนี้ หมอนทอง ชะนีและพวงมณี ก้านยาวและกระดุม โดยความอ่อนแก่หรือระยะการสุกของทุเรียน  อาจมีผลต่อปริมาณองค์ประกอบต่างๆตลอดจนคุณสมบัติได้เช่นเดียวกันกับผลไม้อื่นๆ  ต่อมา Arancibia-Avila et al.,(2008) และ Haruenkit et al.,(2010) มีการนำทุเรียนหมอนทองที่ระยะ

ต่างๆมาศึกษา ได้แก่ ระยะห่าม สุกพอดี สุกห่าม  โดย Arancibia-Avila et al.พบว่าทุเรียนที่สุกพอดี(เนื้อนุ่มและกลิ่นอ่อนๆ) มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติ ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าทุเรียนห่ามหรือสุกเกินไป และ Haruenkit et al. พบว่าทุเรียนอ่อนมีแร่ธาตุส่วนใหญ่มากที่สุด 

กินทุเรียน...อย่างระวัง  

-ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน : เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและยังอุดมไปด้วยไปด้วยไขมันและกำมะถัน ผลไม้ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน 

เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้ไม่สบายเนื้อสบายตัว 

-ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

-ทำให้เกิดร้อนในและเจ็บคอได้ง่าย :  สำหรับบุคคลทั่วไปควรจะบริโภคแต่น้อย หรือมีวิธีป้องกัน คือ ดื่มน้ำผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา หรือดื่มน้ำตามมากๆ 

เพื่อขับสารซัลเฟอร์และช่วยลดอาการร้อนในได้   

-ไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟ เพราะเป็นของร้อนทั้งคู่  การกินทุเรียนและแอลกอฮอล์พร้อมกัน จะมีผลทำให้เอนไซม์ aldehyde dehydrogenase ลดลง 

ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวมีหน้าที่เปลี่ยนสาร aldehyde ให้กลายเป็นสารอื่นแล้วถูกกำจัดออกจากร่างกายต่อไป (aldehyde เป็นสารพิษที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์เป็นพลังงาน)

 ส่งผลให้สาร aldehyde เกิดการสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหน้าแดง ชา วิงเวียน และอาเจียนนั่นเอง 

รายการ ทำอาหารเมนูทุเรียน 

คลิปรายการ เชฟชนเชพ วันที่ 6 ก.ค. 59 ทางช่อง ไทยพีบีเอส ซึ่งถ่ายทำส่วนการแนะนำสายพันธุ์ที่สวนตาก้านและคุณอดิสรณ์ ได้อธิบาย เรื่อง คุณค่าทางอาหารของทุเรียนไว้สั้น ๆ 

อ้างอิง

     http://www.pharmacy.mahidol.ac.th. 30 กรกฎาคม 2557. 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. "ทุเรียน...ราชาแห่งผลไม้" 

     http://frynn.com. 6 กรกฎาคม 2556

 ฟรินน์.คอม. "ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน 25 ข้อ"  

     สมศรี เจริญเกียรติกุล.(2555) "สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน (Durio zibethinus L.) พันธุ์ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี" งานวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

 

เรื่องน่ารู้

Visitors: 491,708