สิ่งที่ควรรู้...ก่อนใช้น้ำบาดาล น้ำบ่อ รดทุเรียน

สิ่งที่ควรรู้...ก่อนใช้น้ำบาดาล น้ำบ่อ รดทุเรียน

 

น้ำบาดาล / ประปาบาดาล

(1) ปัญหาน้ำที่มีค่าความเค็ม

คืออะไร ปัญหาน้ำที่มีค่าความเค็มเกินกว่าทุเรียนจะรับได้ (ค่ามากกว่า 0.3 ppt ในสภาพดินเหนียว และ 0.5 ppt สำหรับดินทราย)

สถานที่พบ: โดยเฉพาะในบริเวณภาคอีสาน หรือภาคกลางในที่ลุ่ม

ผลกระทบที่เกิดขึ้น : หากรดด้วยน้ำเค็มทำให้ใบไหม้ และ ใบร่วง

วิธีการแก้ไข: ต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำอื่น หรือ ผสมน้ำประปากับน้ำคลองเพื่อลดค่าความเค็มลง

 

 

(2) ปัญหาน้ำหินปูน

คืออะไร น้ำด่าง ที่มีค่า pH เกินกว่า 7 

สถานที่พบ: โดยเฉพาะในบริเวณใกล้แถบเขาใหญ่

วิธีสังเกต: เกิดคราบจุด ด่าง คราบขาว หรือการวัดค่า pH 

ผลกระทบ: ทำให้ดินกระด่าง/เป็นด่าง ละลายธาตุอาหารไม่ดี มีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหาร ซึ่งทำให้ใบเหลือง ใบจุด หรือใบไหม้

วิธีการแก้ไข: ปูผ้าใบหรือเตรียมบ่อ เพื่อพักน้ำ

 

 

(3) น้ำเป็นกรด

เกิดจากการขุดบ่อบาดาล ที่มีความลึกไม่มาก (ค่า pH ต่ำกว่า 6) 

สถานที่พบ: บริเวณที่ลุ่มภาคกลาง ดินเหนียว เช่น จ. กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม 

ผลกระทบ: ทำให้ดินเปรี้ยว/ดินเป็นกรด ที่ดูดซับธาตุอาหารได้ดีเกินไป ทำให้เป็นพิษกับทุเรียน ระบบรากพืชถูกทำลาย และเกิดการระบาดของเชื้อโรคพืชหลายชนิด  เช่น เชื้อราโรครากเน่าโคนเน่าในพืช

วิธีการแก้ไข: เติมสารละลายด่างเข้มข้น แต่ส่วนตาก้านไม่แนะนำ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง เปลี่ยนแหล่งน้ำจะดีกว่า 

 

 

(4) น้ำสนิม

คืออะไร บ่อน้ำบาดาลดึงน้ำที่มีธาตุเหล็กขึ้นมา เมื่อเจอกับออกซิเจนจะทำให้น้ำเป็นฝา/สีสนิมลอยบนผิวน้ำ

ผลกระทบ: จะทำให้หน้าดินเสียหาย บริเวณรอบต้นทุเรียนเป็นสีน้ำตาลแดงๆ  ทำให้ทุเรียนไม่เจริญเติบโต

วิธีการแก้ไข: เติมคลอรีนลงไปในแหล่งน้ำ

 

น้ำจากบ่อหรือแหล่งน้ำขัง

คืออะไร เป็นน้ำที่ไม่มีทางน้ำระบาย มาจากน้ำผิวดินหรือน้ำฝน 

ข้อควรระวัง: น้ำเป็นด่างและมีค่าความเค็มที่เกินกว่าทุเรียนจะรับได้ เมื่อเป็นบ่อที่ลึดเกินไป

 

สวนตาก้านแนะนำ ให้ท่านวัดค่าน้ำก่อนมาใช้กับทุเรียน "ทั้งค่าความเค็มและค่า pH" เพื่อจะได้รู้ปัญหา แล้ววางแผนและรับมือ

 

Visitors: 456,349