พันธุ์อีลวง

พันธุ์อีลวง( E-Luang)

ชื่อพันธุ์          :  อีลวง

สถานภาพพันธุ์  :   พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลลวง

ประวัติ          :    เป็นทุเรียนเก่าพันธุ์หนึ่ง  การที่ได้ชื่อว่าลวง   ก็เพราะว่าการเป็นผลในปีแรกๆภายในจะไม่มีเนื้อ เป็นทุเรียนพันธุ์เบามีมานานแล้ว  และมีปลูกกันทุกสวนในจังหวัดนนทบุรี

 

ลักษณะต้น

ทรงพุ่มโปร่งค่อนข้างกว้างและไม่สูงนัก ลำต้นมักไม่ตั้งฉากกับพื้นดิน การแตกของกิ่งไม่ค่อยเป็นระเบียบ บางต้นโคนเดียวอาจจะมีสองลำต้น

 

ลักษณะใบ

ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวและมีขนาดใหญ่ ส่วนกว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เซนติเมตร ขอบใบเรียว ฐานใบแหลมป้านปลายใบแหลม แผ่นใบค่อนข้างราบแต่ไม่สม่ำเสมอ คือจะเห็นรอยนูนทั่วไปบนผิวใบ ด้านหลังใบ ด้านท้องใบสีน้ำตาลอ่อนอมน้ำเงิน หลังใบเขียวแก่เป็นมัน

 

ลักษณะดอก

รูปทรงของดอกค่อนข้างยาวหัวท้ายมน โคนดอกจะป้านมากแล้วหักเกือบเป็นมุมฉากตอนใกล้ก้านดอกและก้านดอกจะเรียว

ลักษณะผล

ผลค่อนข้างยาว พูไม่สม่ำเสมอเบี้ยวงอเห็นพูชัดเจน มักจะมีพูหลอก หนามมีขนาดกลาง ฐานหนามค่อนข้างใหญ่ ปลายหนามแหลม ผลมีสีเขียวหรือน้ำตาล ก้านผลมีขนาดยาวปานกลาง เปลือกผลบาง ในแต่ละพูมี 1-3 เมล็ด

 

ลักษณะเนื้อ

เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบ สีเหลืองปานกลาง รสหวานแหลมไม่มัน กลิ่นฉุนเล็กน้อย และเมล็ดขนาดเล็กหรือลีบ      เป็นทุเรียนที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว 3 ปีก็ให้ผลได้ ในปีที่มีฝนตกชุกในเวลาที่ทุเรียนจวนแก่ก็จะเป็นได้ทั้งแกนและไส้ซึม  

 

ตัวอย่างกิ่งพันธุ์ทุเรียนอีลวง

 

ข้อมูลจาก : สวนตาก้าน และ 

  • ดร. ปิยะ เกียรติก้อง. (2500). การสำรวจพันธุ์ทุเรียนในจังหวัดธนบุรี. วิยานิพนธ์เสนอต่อคณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์. 
  • อ. วิเชียร ทองพันชั่ง. (2546). คู่มือการปลูกทุเรียน. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. กรุงเทพมหานคร.
  • ศศิวิมล แสวงผล, สมศรี เจริญเกียรติกุล และจงดี โตอิ้ม. (2555). รายงานวิจัย การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมทุเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนทุเรียนในประเทศ ตามแนวทางของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
  • กรมวิชาการเกษตร. (2556). การจำแนกลักษณะประจำพันธุ์ทุเรียนพื้นเมือง จังหวัดนนทบุรี. 
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2550). ทุเรียนนนท์. 
  • กรมวิชาการเกษตร. (2555). ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืชทุเรียน.                                                       

  • ย่ำมะหวาด.JPG
    พันธุ์ย่ำมะหวาด ( Yammawat) ชื่อพันธุ์ : ย่ำมะหวาด สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลลวง ประวัติ : เป็นทุเรียนเก่า เพาะจากเมล็ดลวง โดยนายสอน โชติ ที่ตำบลบางล่าง บางค...

  • 20150328_152412.jpg
    พันธุ์ชมพูศรี (Chomphu Sri) ชื่อพันธุ์ : ชมพูศรี สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลชมพูศรี ประวัติ : เป็นทุเรียนเก่าพันธุ์หนึ่ง ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดลวง ผ...

  • 20150328_105506.jpg
    พันธุ์ชะนี (Cha ni) ชื่อพันธุ์ : ชะนี สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลลวง ประวัติ : เพาะจากเมล็ดลวง ลักษณะต้น ทรงพุ่มโปร่งค่อนข้างกว้างและไม่สูงนัก ลำต้นมักไม่ตั้งฉากก...

  • แดง3.jpg
    พันธุ์แดงรัศมี ( Daeng Ratsami ) ชื่อพันธุ์ : แดงรัศมี สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลลวง ประวัติ : เพาะเมล็ดลวง เพาะโดยนายเวียน ในคลองวัดสัก ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย ...

  • 291515.jpg
    พันธุ์สายหยุด(Saiyut) ชื่อพันธุ์: สายหยุด (Saiyut) ชื่อวิทยาศาสตร์: Durio zibethinus Murray ประวัติ: เพาะจากเมล็ดลวง เพาะโดย นายทองอยู่ สุวรรณโรดม ที่ชื่อว่าสายหยุดเพราะหล...
Visitors: 449,961