งานเสวนาและประชุมเกษตรกร

 

 

 

  

“โครงการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี” มีการจัดเสวนาให้ความรู้กับเกษตรกรสมาชิกชมรมฯ ในหัวข้อ. "แนวทางในการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี" ระหว่างวันที่ 24-27 กันยายน 2555 

จัดขึ้น 4 ครั้ง 

1 อำเภอเมือง ณ วัดขวัญเมือง  

2 อำเภอบางกรวย ณ วัดกล้วย 

3 อำเภอปากเกร็ด ณ กองทุนหมู่บ้าน หมู่ 9 ตำบลท่าอิฐ  

4 อำเภอบางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อย ณ ห้องประชุมวัดสวนแก้ว

                                                            มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 700  คน 

 

ในการจัดเสวนาในครั้งนี้มี นายชาตรี  บุนนาค เกษตรจังหวัดนนทบุรี  เป็นประธานเปิดการเสวนา มีตัวแทนส่วนราชการเข้าร่วมฟังการเสวนา  ได้รับเกียรติจาก  คุณพูนสุข   สีตะปะดล ผู้อำนวยกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต     นำเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  มาร่วมสนับสนุนการเสวนาในครั้งนี้

 การเสวนานั้นเน้นให้เกษตรกรปลูกทุเรียนพื้นบ้านให้มากขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ  ที่ทรงมีต่อการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้าน

 เนื้อหาในการเสวนา  

*แนวทางการปลูก 

*สายพันธุ์ที่ควรปลูก  เช่น กบแม่เฒ่า กบชายน้ำ  กำปั่นพวง  เม็ดในยายปรางค์  ลวง กระดุมและชะนีเป็นต้น

*ทิศทางการตลาด

*แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้การร่วมเสวนา

ในการจัดโครงการนี้มี นายสุพจน์  ธูปแพ  ประธานชมรมฯ และคณะกรรมการมีความตั้งใจ ในการจัดงานเพื่อให้   การอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านของนนทบุรี   มีความชัดเจนมากยิ่งและหวังให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมองเห็นความสำคัญ    ในความตั้งใจจริงของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนนนท์  โครงการในระยะยาว ที่ต้องอาศัยความตั้งใจจริงความอดทนและความชำนาญของเกษตรกรในการดูแลทุเรียนให้เติบโต   เพื่อพลิกฟื้นสวนทุเรียนนนท์ให้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง  เรื่องผลผลิตและรสชาติของทุเรียน     ซึ่งกว่าเราจะได้เห็นผลผลิตกันอีกทีก็คงเป็นอีก 5-6 ปีข้างหน้า 

และภาพการประชุมเกษตรกร รวมถึงงานนิทรรศการทุเรียนนนท์

 

 

 

ชาวสวนทุเรียนนนท์ กว่า 500 คน โวย รัฐจ่ายเงินช่วยเหลือไม่เป็นธรรม                 ด้านผู้ว่าฯรับปากช่วยเสนอ รมต.เกษตรและสหกรณ์

 
ที่ลานธรรมวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี มีชาวบ้านใน จ.นนทบุรี กว่า 500 คน มีอาชีพเป็นชาวสวนทุเรียน มารวมตัวประท้วงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ปี 2554 ไม่เป็นธรรม โดยชาวสวนทุเรียนได้เงินช่วยเหลือเพียงไร่ละ 5,098 บาท แต่ถ้าเป็นในส่วนของพืชชนิดอื่นๆ กลับได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ เช่นกล้วยไม้กระถางจะได้เงินช่วยเหลือไร่ละ  182,643 บาท  กล้วยไม้ตัดดอกไร่ละ  80,013 บาท  ไม้ประดับกระถาง ไร่ละ  61,215 บาท
 
 
 โดยตัวแทนชาวบ้านได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อคือ 
                                                                                      
 1 .ให้จ่ายเงินช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนและมังคุดตามที่เสนอไป คือ เพิ่มจากไร่ละ 5,098 บาทเป็นไร่ละ 60,000 บาท
 2.ต้องมีตัวแทนจากกลุ่มชาวสวนที่ได้รับความเดือดร้อนเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือร่วมอยู่ด้วยเพื่อป้องกันการทุจริต  
3. ให้พิจารณาสรุปเรื่องที่เสนอไปแล้วนั้นให้เสร็จสิ้นภายใจ 7 วัน   หากไม่ได้รับคำตอบจะร่วมตัวกันไปประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาลทันที  ซึ่งนายวิเชียร  พุฒิวิญญูผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีได้รับหนังสือและรับปากที่จะนำไปเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในวันนี้ (5 มิ.ย.)  ชาวบ้านจึงพอใจและสลายตัวโดยไม่มีการปิดถนนเหมือนอย่างทุกครั้งที่ผ่านมา 
 
            ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ปลูกแบบยกร่องในอัตราร้อยละ ๕๕ ของต้นทุนการผลิตรวม(๗๕,๑๔๒บาท/ไร่)เป็นเงิน ๔๑,๓๒๘ บาท/ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทุเรียนแบบยกร่องที่ได้รับความเสียหาย ๓,๓๑๕ ไร่จึงต้องให้ความช่วยเหลือรวมวงเงินทั้งสิ้น ๑๓๗,๐๐๒,๓๒๐ บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว โดยสำนักงบประมาณ(สงป.)จัดสรรเงินงบประมาณให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายให้เกษตรผู้ประสบภัย ปี ๒๕๕๔
 
  ขอขอบคุณ 
 
พระราชธรรมนิเทศ(พยอม กัลยาโณ)
•คณะรัฐมนตรี
•กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
•กรมส่งเสริมการเกษตร
•จังหวัดนนทบุรี
•องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
•สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี
•สื่อมวลชน
•ผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน
•เกษตรกรชาวสวนทุเรียนนนทบุรีทุกท่าน
 
 
 
 
 
 
 
 
 

       

       

 

 

 

 

Visitors: 449,980