พันธุ์หมอนทอง

พันธุ์หมอนทอง (Monthong)

ชื่อพันธุ์          :   หมอนทอง

สถานภาพพันธุ์  :   พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลกำปั่น 

ประวัติ :  เป็นทุเรียนเพาะจากเมล็ดกำปั่นเหลือง(กำปั่นเจ้ากรมเขียน) เกิดที่  ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี  โดยนายเทียม เป็นผู้เพาะ ผู้เผยแพร่ทุเรียนพันธุ์หมอนทองให้ดังไปทั่วประเทศ  คือ  ร้อยเอกนายแพทย์ ทองคำ ระงับภัย 

 

ทำไม?? เป็นทุเรียนน่าปลูก 
(1) การเจริญเติบโตขึ้นง่าย แข็งแรง เป็นทุเรียนที่เรือนต้นดี ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตในช่วงประมาณปีที่ 4-6

(2) ผลดก มักให้ผลใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด

(3) เนื้อหนาสีเหลือง มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมันพอดี เมล็ดเล็ก 

 

 ลักษณณะต้นและใบ

เป็นทุเรียนพุ่มใหญ่ที่ขึ้นง่าย ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตในช่วงประมาณปีที่ 4-6 ใบมีลักษณะบาง กลางใบปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม

 

ลักษณะดอก

ดอกปลายดอกแหลม ออกดอกดก

 

  
ลักษณะผล 
ก้านขั้วใหญ่แข็งแรง รูปร่างหนามแหลมตรง ฐานหนามใหญ่ ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป ซึ่งเรียกหนามชนิดนี้ว่า เขี้ยวงู ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก

 

 

 

ลักษณะเนื้อ

เนื้อหนาสีเหลืองอ่อน ละเอียด ผลดก เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่  

 

 
ท่านสามารถเข้าชมคลิป "ทุเรียนน่าปลูก ตอนที่ 8 หมอนทอง" 
 
 
                     
ลักษณะกิ่งพันธุ์ที่จำหน่าย มี 2 แบบ 
                                                                 
แบบที่ 1 :  แบบกระโดง 0.8-1.2 เมตร
 
  
 
 
แบบที่ 2 :  แบบกิ่งข้าง ความสูง 0.8-1.2 เมตร
 
                      
 

ข้อมูลจาก : สวนตาก้าน และ 

  • ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ และสุชาดา วงศ์ภาคำ. (2557). ทุเรียนสวนเรา. โครงการพฤกษพันธุศาสตร์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ภาควิชาพฤษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
  • อ. วิเชียร ทองพันชั่ง. (2546). คู่มือการปลูกทุเรียน. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. กรุงเทพมหานคร.
  • ศศิวิมล แสวงผล, สมศรี เจริญเกียรติกุล และจงดี โตอิ้ม. (2555). รายงานวิจัย การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมทุเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนทุเรียนในประเทศ ตามแนวทางของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2550). ทุเรียนนนท์. 
  • กรมวิชาการเกษตร. (2555). ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืชทุเรียน.
 
 
                                                        
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                                                                                                         
                                                                                                         
 

  • กำปั่นเหลือง.JPG
    พันธุ์กำปั่นเหลือง(เจ้ากรม) (Kampan Lueang/Chaokrom) ชื่อพันธุ์ : กำปั่นเนื้อเหลือง หรือ กำปั่นเจ้ากรม สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง(พันธุ์กลาง) ประวัติ : เป็นทุเรียนเพ...

  • ชายมะไฟ.JPG
    พันธุ์ชายมะไฟ(Chai Mafai ) ชื่อพันธุ์ : ชายมะไฟ สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลกำปั่น ประวัติ : เป็นทุเรียนเพาะจากเมล็ดกำปั่นเนื้อขาว สันนิษฐานว่าในการปลูกครั้งแ...

  • กำปั่นขาว1.JPG
    พันธุ์กำปั่นขาว(เดิม) ( Kam pan khao) ชื่อพันธุ์ : กำปั่นเดิม หรือ กำปั่นเนื้อขาวสถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมืองตระกูลกำปั่นประวัติ : เป็นพันธุ์ดั้งเดิม แหล่งค้นพบ จ.นนทบุรี...

  • กำปั่นพวง.JPG
    พันธุ์กำปั่นพวง(Kampan Phuang) ชื่อพันธุ์ : กำปั่นพวง สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง(พันธุ์หนัก) ประวัติ : เป็นทุเรียนเพาะจากเมล็ดกำปั่นเนื้อขาว จุดเด่น: "เนื้อหนา ละเ...

  • DSCF4960-horz.jpg
    พันธุ์กำปั่นตาแพ (Kampan Ta phae) ชื่อพันธุ์ : กำปั่นตาแพ สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลกำปั่น ประวัติ : เป็นทุเรียนเพาะจากเมล็ดกำปั่นเดิม เกิดที่ตำบลบางสีทอง อำเภ...

  • กำปั่นดำ3.jpg
    พันธุ์กำปั่นดำ (Kampan Dam) ชื่อพันธุ์ : กำปั่นดำ สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลกำปั่น ประวัติ : แหล่งค้นพบที่ เขตบางกอกน้อย จ. กรุงเทพฯ ลักษณะต้นและใบ ลำต้นสูงใหญ่ กิ่งจั...

  • ADD_6475-horz.jpg
    พันธุ์ดาวกระจาย (Dao-kra-jai) ชื่อพันธุ์ : ดาวกระจาย สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง ตระกูลกำปั่น ประวัติ : เป็นทุเรียนที่เกิดจากการเพาะทุเรียนพันธุ์กำปั่นเนื้อขาว เกิดที่...
Visitors: 503,513